คำและความหมายของคำ
คำ
หมายถึง ส่วนที่เล็กที่สุดของภาษาที่มีความหมาย ใช้ตามลำพังเพื่อการสื่อสารได้
เป็นข้อความก็ได้ คำที่ใช้สื่อสารต้องมีความหมาย อาจเป็นความหมายโดยตรงตามตัว
ความหมายอุปมา ความหมายคล้ายกัน ความหมายกว้าง ความหมายแคบ
ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการสื่อสาร
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๑. ความหมายโดยตรง
เป็นความหมายตามพจนานุกรม เช่น
ปาก หมายถึง อวัยวะสำหรับกินข้าวและเปล่งเสียง
หวาน หมายถึง รสอย่างน้ำตาล
แดง หมายถึง สีอย่างเลือด
๒. ความหมายอุปมา
เป็นความหมายเปรียบเทียบ เช่น
ปากหวาน หมายถึง พูดจาไพเราะ
หมู หมายถึง ง่าย
เช่น งานหมูๆ
แดง หมายถึง เปิดเผยออกมา เช่น
เรื่องทุจริตของเขาแดงขึ้น
๓. ความหมายคล้ายกัน
หมายถึง ความหมายใกล้เคียงกันหรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น
โชย (ส่งกลิ่นมาจากระยะไกล) ฟุ้ง (ส่งกลิ่นกระจายไปในอากาศ)
ครึกโครม (เสียงดังชวนให้ตื่นเต้น) ครื้นเครง (ดังด้วยความสนุกสนาน)
แบบบาง (ผอมและบาง) บอบบาง (อ้อนแอ้น
ไม่แข็งแรง ไม่แน่นหนา ไม่คงทน)
๔. ความหมายตรงข้าม
หมายถึง ความหมายตรงข้ามกัน เช่น
หน้า - หลัง ดี - ชั่ว
ซ้าย – ขวา หอม – เหม็น
ต้น – ปลาย สูง – ต่ำ
๕. ความหมายกว้าง
– แคบ หมายถึง ความหมายกินความมากกว่า
หรือครอบคลุมคำอื่น
คำที่มีความหมายกว้าง
|
คำที่มีความหมายแคบ
|
เสื้อ
|
เสื้อยืด เสื้อแขนยาว
|
คน
|
ตำรวจ ทหาร
คุณครู
|
ผลไม้
|
แตงโม กล้วย
องุ่น
|
เครื่องครัว
|
กระทะ หม้อ
จาน
|
๖. ความหมายในประหวัด
หมายถึง คำที่ไม่ได้ความหมายตรงตัว แต่จะแปลความหมายเปรียบเทียบ
ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจความหมายนั้นเป็นอย่างดี อาจใช้คำว่า
คำที่มีความหมายโดยนัยหรือคำที่มีความหมายอุปมาก็ได้ เช่น
อีสาน นัยประหวัดถึง ความแห้งแล้ง กันดาร
สีดำ นัยประหวัดถึง ความทุกข์ ความเศร้า
น้ำ นัยประหวัดถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความเย็น
ความชุ่มชื้น
นกขมิ้น นัยประหวัดถึง คนเร่ร่อน
ไม่มีที่พำนักเป็นหลักแหล่ง
๗. ความหมายหลายนัย
หมายถึง ความหมายที่ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น
ขัน หมายถึง ภาชนะสำหรับตักน้ำ
ทำให้ตึงหรือแน่นด้วยวิธีหมุนขมวดเข้าไป
อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด
หัวเราะ
นึกอยากหัวเราะ น่าหัวเราะ
ขัด หมายถึง ฝ่าฝืน
ไม่คล่อง
ไม่ลงรอยกัน
๘. ความหมายเหมือนกัน
หมายถึง ความหมายเดียวกันแต่ใช้ได้หลายคำ คล้ายคำพ้องความหมายหรือคำไวพจน์ เช่น นก
มีคำดังนี้ ปักษา ปักษี สกุณา สกุณี วิหค บุหรง ฯลฯ คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้แทนกันไม่ได้ทุกกรณี
เช่น
สรรพนามบุรุษที่ ๑ : ฉัน ดินฉัน ข้าพเจ้า ข้า กู
จะใช้แตกต่างกัน คือ
ข้า
กู ใช้ในการพูด
ดิฉัน
ข้าพเจ้า ใช้ในภาษาที่เป็นทางการ
ทอง : กนก กาญจนา สุวรรณ
จะใช้ในภาษาการประพันธ์ แต่ภาษาสามัญ เราจะใช้ว่า ทอง หรือ ทองคำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น