วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561

ประเภทของสำนวน


ประเภทของสำนวน
      ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวน อาจแบ่งประเภทตามจำนวนคำ บางสำนวนเป็นกลุ่มคำ ประโยค (ประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน) อาจมีการสัมผัส หรือไม่สัมผัสกันในสำนวนก้ได้ เช่น
จำนวนคำ
คำและความหมาย
ตัวอย่าง
คำเดียว
กรอบ (ยากจน ไม่มีเงิน)
เดี๋ยวนี้ฐานะเขากรอบเต็มที
เทศน์ (ว่ากล่าว ตักเตือน)
นักเรียนคุยกันมากเลยถูกครูเทศน์ ๑ ชั่วโมง
๒ คำ
ปักหลัก (ตั้งมั่นเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)
คนกลุ่มนี้ ปักหลักอยู่หน้าโรงงานหลายวันมาแล้ว
เล่นลิ้น (ไม่ตรงไปตรงมา)
บอกความจริงมาดีกว่าอย่ามัวเล่นลิ้นให้เสียเวลา
กลุ่มคำหรือประโยค
๓ คำ
แพะรับบาป (คนที่ไม่ได้ทำวามผิดแต่รับเคราะห์แทนผู้อื่น)
ฉันไม่ยอมเป็นแพะรับบาปในคดีนี้แน่
น้ำลายหก (อยากได้มาก ทำให้มีอาการเช่นนั้น)
ฉันอยากได้กระเป๋าใบนั้น จนน้ำลายหก
กลุ่มคำหรือประโยค
-๑๐ คำ ไม่มีสัมผัส
วัวหายล้อมคอก (เกิดเรื่องเสียหายแล้วจึงป้องกันภายหลัง)
ฉันเตือนเธอแล้วให้ล็อกห้องทุกครั้ง พอของหายแล้วจะมาซื้อกุญแจไปใช้ นี่แหละวัวหายแล้วจึงล้อมคอก
ตามมีตามเกิด (ทำเท่าที่มีอยู่เล็กน้อย)
วันนี้ไม่ได้ไปตลาดมีอะไรก็กินกันไปตามมีตามเกิด
แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ (คนที่มีประโยชน์มักถูกลืม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจึงมีคนนึกถึง)
ตอนนี้ห้องรกมากฉันนึกถึงแม่บ้านที่เราไล่ออกไปแล้ว นี่แหละเขาเรียกว่าแกงจืดจึงรู้คุณเกลือ
เอากุ้งฝอยไปตกกุ้งปลากะพง (ลงทุนน้อยเพื่อให้ได้กำไรมาก)
ลูกซื้อขนมมาให้แม่อยากขอเงินไปเที่ยวใช่ไหมอย่างนี้เรียกว่าเอากุ้งฝอยมาตกปลากะพงนี่นา
กลุ่มคำหรือประโยค
-๑๐ คำที่มีสัมผัส
หวานอมขมกลืน (ต้องทนรับสภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าดีหรือเลวอย่างจำใจ )
แดงต้องหวานอมขมกลืน ที่พักอาศัยอยู่กับญาติเพราะไม่มีที่จะไป
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า (ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน)
เราอยู่ทีมฝ่ายขายต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อจะทำสถิติให้สูงขึ้นเหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม (เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวแรงหรือเสียหายอะไร)
ลูกเรียนว่ายน้ำและเทนนิส ไม่เป็นไรหรอก รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น (อยู่บ้านผู้ใดให้ช่วยทำงานบ้านหรือสิ่งต่าง ๆ ตามแต่จะทำได้)
ลูกไปอยู่บ้านคุณยายช่วยคุณท่านกวาดบ้านถูบ้านด้วยนะ จำไว้ว่าอยู่บ้านท่านอย่างนิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

       นอกจากนี้ประเภทของสำนวนอาจแบ่งตามเนื้อหาของความหมายว่ามีเนื้อความเป็นไปในทำนองใด เช่น
๑.     ความหมายเกี่ยวกับลักษณะนิสัย เช่น มือห่างตีนห่าง  หน้าไว้หลักหลอก
๒.     ความหมายเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก เช่น ใจปลาซิว พกหินดีกว่าพกนุ่น
๓.      ควายหมายเกี่ยวกับความคิดเจตคติ พฤติกรรม เช่น จุดยืน กบในกะลา
๔.     ความหมายเกี่ยวกับการพูด เช่น ชักแม่น้ำทักห้า ยุแยงตะแคงรั่ว
๕.     ความหมายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น หมูไปไก่มา บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น
๖.      ความหมายเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ อบรมสั่งสอน เช่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
๗.     ความหมายเกี่ยวกับเตือนสติไม่ให้ประมาท เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
๘.     ความหมายเกี่ยวับความเป็นอยู่ การทำมาหากิน เช่น หาเช้ากินค่ำ
๙.      ความหมายเกี่ยวกับฐานะ เศรษฐกิจ เช่น เงยหน้าอ้าปาก กินน้ำเผื่อแล้ง
๑๐. ความหมายเกี่ยวกับการมีคู่ครอง ครองเรือน เช่น ทอดสะพาน ดูช้างให้ดูหางดูนางให้ดูแม่
๑๑. ความหมายเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ เช่น สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
๑๒. ความหมายเกี่ยวกับสถานภาพสังคม เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่
๑๓. ความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานการณ์ เช่น หน้าสิ่วหน้าขวาน
๑๔. ความหมายเกี่ยวกับความเชื่อ เช่น จิ้งจกทัก คนดีผีคุ้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น